เทคนิคการพุ่งแหลน(Javelin Throw )
พุ่งแหลน ดูผิวเผินเหมือนเป็นกีฬาที่ใช้พละกำลังอย่างเดียว ต้องอาศัย เทคนิคของการพุ่งแหลน เป็นองค์ประกอบสำคัญ บวกกับ การฝึกซ้อมพุ่งแหลน ที่ถูกต้องตั้งแต่ระดับพื้นฐาน เพื่อสร้างความจำที่ถูกต้องให้กับระบบกล้ามเนื้อของนักกีฬา และจะสามารถพัฒนาในเรื่องของ การพุ่งแหลนให้ตรง และ การพุ่งแหลนให้ไกล ในลำดับต่อไปครับ
แนวทางการฝึกซ้อม ของกีฬาพุ่งแหลน ที่นักกีฬาพุ่งแหลน ควรทราบ แบ่งออกดังนี้
1.ความแข็งแรงกล้ามเนื้อ ของนักกีฬาพุ่งแหลน (การเล่นเวท การยกน้ำหนักเฉพาะส่วนของนักกีฬา)
2.ความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ ของนักกีฬาพุ่งแหลน (การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ)
3.เทคนิคของนักกีฬาพุ่งแหลน ( การจัดท่าทางการพุ่ง การใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ในการพุ่งฯลฯ)
โดยนักกีฬาพุ่งแหลน ต้องพัฒนาทั้ง 3 ข้อ ข้างต้น ซึ่งถือว่าเป็นพื้นฐานสำคัญ
ข้อผิดพลาดที่ควรทราบก่อนทำการฝึกซ้อมพุ่งแหลน
” นักกีฬาพุ่งแหลน มักคิดว่า ต้องใช้แรงจากแขนทั้งหมดในการส่งแหลนไป ให้ได้ระยะไกล” แต่ข้อเท็จจริง ใช้แรงจากแขนเพียง 30 เปอร์เซ็นต์จากแรงทั้งหมด ที่เหลือเป็นพละกำลังที่ได้จาก ช่วงล่างตั้งแต่ ข้อเท้า หัวเข่า ต้นขา เกลียวลำตัว ส่งมาที่แขน
” นักกีฬาพุ่งแหลนมือใหม่ มักไม่ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ส่งผลให้ได้รับบาดเจ็บที่แนวข้อศอก”
” เท้าที่ใช้สกัดพื้น ขณะพุ่งแหลน ขยับเขยื้อน หรือยันพื้นไว้ไม่มั่นคง มักทำให้การพุ่งแหลนครั้งนั้นสูญเสียระยะ”
ท่าทางที่ถูกต้องสำหรับการพุ่งแหลน
เริ่มต้นจาก วิธีการจับแหลน , การจับแหลนที่ถูกต้อง ก่อนนะครับ
การจับแหลนแบบง่ายๆ ก็คือ ในรูป A โดยปลายนิ้วหัวแม่มือ และปลายนิ้วชี้ วางไว้ส่วนบนสุดของแนวเชือกดังรูป นิ้วมือที่เหลืออีก 3 นิ้ว ให้วางทาบไปตามแนวกริปของแหลน
การจับแหลน แบบต่อมา คือในรูป แบบ B ใช้กันมากในหมู่นักกีฬาพุ่งแหลนมืออาชีพ ปลายนิ้วหัวแม่มือ กับปลายนิ้วกลาง จะเป็นตัวล็อกปมเชือก แหลนอยู่ในร่องมือ นิ้วชี้ใ้ห้ทาบขนานไปกับแหลน ส่วน นิ้วที่เหลือให้วางทาบตามปกติ
การจับแหลน ในรูปแบบ C เป็นอีกทางเลือกหนึ่งครับ แต่ผมไม่เคยเห็นนักพุ่งแหลนคนใดใช้แบบนี้
เทคนิคในการจับแหลน การจับแหลน ควรจับใ้ห้กระชับ สบายๆ ไม่กำแน่น คำตอบของการกำแหลนแน่นเกินไปคือ ทำให้กล้ามเนื้อแขนเกิดอาการที่เรียกว่า แข็งเกร็ง เป็นสาเหตุให้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ระเบิดพลังงานออกมาได้น้อยกว่าที่จะเป็น
http://my.facebook.in.th/?p=600
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น